วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Save time 3 Monday Date 06 February 2017

Diary notes.



Knowledge.


หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

      หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ยึดแนวคิดและหลัักการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้


แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย

  


       หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 พัฒนาขึ้นโดยอาศัยแนวคิด ต่อไปนี้
  1. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก พัฒนาการเด็กปฐมวัยบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัย เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุ 5 ปี ซึ่งพันาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ จอตใจ สังคม และสติปัญญาจะมีความสัมพันธ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนไปพร้อมกันทุกด้าน
  2. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้เป็นผลสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยเด็กเป็นผู้กระทำด้วยตนเอง ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 
  3. แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก การเล่นถือเป็นกิจกรรมสำคัญในชีวิตมีอิทธิพลและมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก เด็กจะรู้สึกสนุกสนาน ได้สังเกต มีโอกาสทำการทดลอง สร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและค้นพบด้วยตนเอง
  4. แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม บริบทสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่หรือแวดล้อมตัวเด็ก ทำให้เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน 

      จากแนวคิด 4 ประการข้างต้น ทำให้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 ได้กำหนดปรัชญาการศึกษาปฐมวัยไว้ดังนี้



ภาพจาก https://sites.google.com/site/janetewit/home/kar-suksa-pthmway

หลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

      

      หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย ยึดหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย ดังนี้
  1. การสร้างหลักสูตรที่เหมาะสม เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาเด็กทุกด้าน ที่สอดคล้องกับพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
  2. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก จะต้องอยู่ในสภาพที่สนอความต้องการ ความสนใจทั้งภายในและภายนอกห้องเรียนของเด็ก
  3. กรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ต้องส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา
  4. การบูรณาการการเรียนรู้ ยึดหลักการบูรณาการที่่ว่า หนึ่งแนวคิดเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายกิจกรรม หนึ่งกิจกรรมเด็กสามารถเรียนรู้ได้หลายทักษะและหลายประสบการณ์สำคัญ
  5. การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ยึดวิธีการสังเกตเป็นส่วนใหญ่ ดประเมินด้วยเกณฑที่เป็นขั้นต่ำ ในรูปแบบสารนิทัศน์ พอตโฟริโอ เป็นต้น
  6. ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวของเด็ก เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ และพ่อแม่ ผู้ปกครองมีส่วนในการพัฒนาเด็ก ในรูปแบบการจัดทำสานสัมพันธ์ผู้ปกครอง 

  


Teaching methods.
     
     อาจารย์มีการใช้คำถามกระตุ้นให้นักศึกษาคิด เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และอธิบายเพิ่มเติมจากคำตอบของนักศึกษา



assessment.



classroom conditions. ห้องโล่ง โปร่ง สะอาด ปลอดภัย บริเวณกว้างขวาง มีเครื่องอำนวยความสะดวกเพียงพอประกอบด้วยจอโปรเจคเตอร์ Projector screen ขนาดใหญ่หน้าชั้นเรียน คอมพิวเตอร์ Computer และเครื่องปรับอากาศ Air Conditioner ที่ใช้งานได้ดี

self. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ ใช้ ร ล และคำควบกล้ำได้ถูกต้อง มีการจดบันทึกสรุปเนื้อหาที่อาจารย์สอน และตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น


friend. เข้าชั้นเรียนตรงเวลา แต่งกายถูกระเบียบ แสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

professor. อาจารย์บริหารเวลาในการสอนได้เหมาะสม การแต่งกายสะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย พูดเสียงดังชัดเจน เข้าสอนตรงเวลา และเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถาม แสดงความคิดเห็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น